For information...
วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554
จับ File สอนมา Render ใหม่
Night Shot...Render
Render by Revit Architect 2012: File Training Advance Coures
ล่าสุดได้ทำการสอน Revit Architect 2012 Course Advance มา ปกติผมมักไม่ค่อย Copy File ที่ทำในชั่วโมงสอนกลับมาบ้าน แต่คราวนี้รู้สึกชอบ File ที่ได้ทำในระหว่างสอนจึง Copy เก็บกลับมาด้วย แล้วเอามาทำการ Render ใหม่ เนื่องจากในระหว่างที่สอน ไม่มีเวลาในการ Render เพียงพอ ผมสอนเรื่องการจัดแสง และการจัดการ Material ต่างๆไว้ใน File นี้ ผลที่ได้ เป็นไปตามรูปที่ได้มาครับ
วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554
สร้างฉากจำลอง สำหรับ Present Animation Revit Architecture 2012
Create Scene Animation by VUE 9.5 for Revit Architecture 2012
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554
Revit Architecture 2012 for Take off Material & Cost
การประมาณราคาและถอดปริมาณวัสดุ ด้วย Revit Architecture นั้น สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และ ง่ายมาก หากเราทำการทำ Drawing ที่จะใช้งานจริงๆ ออกมาได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนในรายละเอียดการก่อสร้างจริง ซึ่ง ตาราง Material ที่ได้ใน Revit จะมีปริมาณเท่ากับ ปริมาณในการทำแบบ เท่านั้น การเผื่อปริมาณ วัสดุต่างๆ ที่เผื่อ Waste นั้นเราจะต้องอาศัยความเข้าใจและประสบการณ์ ในการเผื่อเอาเอง โดยส่วนตัวแล้ว ประสบการณืที่ผ่านมาในวงการก่อสร้างกว่า 16 ปี สำหรับผมจะทราบด้วยตัวเองว่าแต่ละรายการจะต้องเผื่อเท่าไหร่ ไม่มีสูตรตายตัว เนื่องจากสถานที่ในการทำงานแต่ละที่ จะมีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่างกันครับ หมั่นฝึกฝนบ่อยๆ เราจะเข้าใจ ในหลักการทั้งหมดได้ครับ ทั้งการใช้โปรแกรม และการ คำนวณต่างๆที่เป็นองค์ประกอบสำหรับการทำงานให้สำเร็จลุล่วงครับ
ภาพแรก เป็น Export ตารางประมาณราคาที่ได้มาจาก Revit Architecture เข้ามาExcel Program
Lay -Out Plan by Revit 2012 + VUE9.5
การทำ Preliminary Design กับโครงการที่มีพื้นที่ใหญ่ๆ ด้วย Revit Architecture 2012 ก็สามารถทำได้รวดเร็ว การทำงานนี้ใช้ Mass เพื่อเป็น Model ตัวบ้านแล้ว จัดการสร้าง Lay -Out ด้วยการ Template จาก File Cad ที่ Link เข้ามา เมื่อได้ครบถ้วนตาม Design Concept แล้ว จึงทำการ Export File มาทำ Present ใน VUE9.5 เพื่อทำ Natural Scene อีกทีครับ แล้วก็ได้ผลงานตามที่เห็นครับ ใช้เวลาในการทำงาน 2 ชม.
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554
Fast Speed Design with Revit Architecture + VUE render
การทำงาน Design ที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน ขอบอกว่า Revit Architecture สามารถตอบสนองได้อย่างดีเยี่ยม การทำงานที่รวดเร็วก็สามารถทำให้เรามีเวลาในการตรวจสอบรายละเอียด และเพิ่มเติมส่วนรายละเอียดปลีกย่อยได้อีก หากเราฝึกฝนมากๆ ทำความเข้าใจการทำงานในแต่ละ Part เราก็จะสามารถทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่เท่าเดิมครับ งานนี้ใช้เวลา 2 วันครับ
วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554
Revit 2012, Full CPU, Full RAM
เคยกล่าวไว้ตั้งแต่ Revit 2012 ออกมาประจำการแทน Version 2011 ตั้งแต่ช่วงที่โปรแกรมออกมาใหม่ๆ ช่วงแรก โปรแกรมมี Bug กันพอสมควร ช่วงนั้นมี File งานที่เคยทำไว้ตั้งแต่ตอนเป็น Revit 2011 แล้วเป็น File ที่ใหญ่มาก และยังทำ Link Revit ไว้ด้วย ครั้งแรกที่เอา File นั้นมาเปิดใน Revit 2012 เรียกว่ากว่าจะเปิดได้ใช้เวลากันพอสมควร เนื่องจาก File งานจะต้องถูก Upgrade ซะก่อน ทำให้กว่าจะเปิดงานได้ต้องรอกันนานทีเดียว ตอนนั้นผมเปิด File แล้ว หันไปชงกาแฟดื่มจนหมดแก้ว ถึงกลับมาทำงานได้ แต่ลากไปลากมา โปรแกรม แฮงค์ไปซะงั้นครับ ผมเลยทิ้งๆไปก่อน โดยยังคงสาละวนกับ Revit 2011 ไปก่อนเนื่องจากทนความวูบวาป ของ Revit 2012 ไม่ไหว จนวันหนึ่ง Revit 2012 มีการ Update Patch ผมจึงหันมาสนใจอีกครั้ง คราวนี้จับ File งานที่เคยมีปัญหามาลองอีกครั้ง โดยใช้เครื่องมือคู่ใจตัวใหม่ ASUS G74SX, Core I7 2630QM, Ram 46 GB, VGA GTX 560M เพื่อมาทดสอบ File เจ้าปัญหา
จากรูปด้านล่าง เมื่อเปิด File แล้ว ทำงานใน Mode ปกติ แล้ว เช็คดูว่า File นี้ใช้ Ram ไปเท่าไหร่ ผลปรากฏว่า ใช้ไปทั้งหมด 7.48 ล้าน KB หรือ 7 GB กว่าเลยนะครับ คอมตัวเก่าผม Ram 8 GB เลยเอาไม่อยู่ครับ
ทีนี้ลองเปิดเป็นแบบ Mode Shade ดูครับ ผลปรากฏว่า ใช้ Ram เพิ่มขึ้นมาอีกนิด คราวนี้เป็น 7.60 ล้าน KB ถือว่าเพิ่มขึ้นนิดหน่อยครับ ไม่มีผลสักเท่าไหร่นัก (รูปด้านล่าง) จากนั้นผมกลับไปสู่ Mode ปกติ แล้วทำการ Render ที่ค่า High แล้วดูการใช Ram และการทำงานของ CPU ครับ ผลออกมาว่า Ram ใช้ไปในระหว่าง Render 17 GB, CPU มีเท่าไหร่ใส่ไม่ยั้ง 4 Core 8 Trade ทำงานกันเต็มสูบ วิ่งกัน 99 - 100% เลยทีเดียว (รูปด้านล่าง) ผลเมื่อ Render เสร็จแล้ว CPU กลับมาสู่ภาวะปกติ แต่ Ram ใช้มากขึ้นในระหว่างนี้ Ram ใช้ในระหว่างนี้ 8.83 GB เนื่องจากภาพหน้าจอเป็นภาพที่ Render เสร็จแล้วครับ (รูปด้านล่าง) แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด สังเกตเรื่องเวลาที่ใช้ในการ Renderครับ 1 ชม 5 นาที 43 วินาที ถือว่าเร็วมากกว่าเดิมมากครับ ก่อนนั้น File นี้ผม Render 12 ชม ขึ้น นะครับ จาก 12 ชม เหลือ 1 ชม มันเป็นประโยชน์มากเลยครับสำหรับการทำงาน เพราะเราจะมีเวลาในการจัดการงานต่างๆได้มากขึ้นมาอีก 11 ชม เลยทีเดียว ผลสรุปคร่าวจากการทดสอบง่ายๆ จะเห็นว่า Revit 2012 เมื่อเข้าสู่ Mode การทำงานแล้ว ประสิทธิภาพเครื่องมีเท่าไหร่ เขาจะใช้กันจนหมด หมายความว่า หากจะทำงานใน Revit 2012 ประสิทธิภาพเครื่องมีผลกับความเร็วในการทำงานสูงสุดในแง่ของการทำงาน เพื่อให้ File ที่เราทำงานอยู่ไหลลื่น และทำการ Render ได้เร็วขึ้นครับ
จากรูปด้านล่าง เมื่อเปิด File แล้ว ทำงานใน Mode ปกติ แล้ว เช็คดูว่า File นี้ใช้ Ram ไปเท่าไหร่ ผลปรากฏว่า ใช้ไปทั้งหมด 7.48 ล้าน KB หรือ 7 GB กว่าเลยนะครับ คอมตัวเก่าผม Ram 8 GB เลยเอาไม่อยู่ครับ
ทีนี้ลองเปิดเป็นแบบ Mode Shade ดูครับ ผลปรากฏว่า ใช้ Ram เพิ่มขึ้นมาอีกนิด คราวนี้เป็น 7.60 ล้าน KB ถือว่าเพิ่มขึ้นนิดหน่อยครับ ไม่มีผลสักเท่าไหร่นัก (รูปด้านล่าง) จากนั้นผมกลับไปสู่ Mode ปกติ แล้วทำการ Render ที่ค่า High แล้วดูการใช Ram และการทำงานของ CPU ครับ ผลออกมาว่า Ram ใช้ไปในระหว่าง Render 17 GB, CPU มีเท่าไหร่ใส่ไม่ยั้ง 4 Core 8 Trade ทำงานกันเต็มสูบ วิ่งกัน 99 - 100% เลยทีเดียว (รูปด้านล่าง) ผลเมื่อ Render เสร็จแล้ว CPU กลับมาสู่ภาวะปกติ แต่ Ram ใช้มากขึ้นในระหว่างนี้ Ram ใช้ในระหว่างนี้ 8.83 GB เนื่องจากภาพหน้าจอเป็นภาพที่ Render เสร็จแล้วครับ (รูปด้านล่าง) แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด สังเกตเรื่องเวลาที่ใช้ในการ Renderครับ 1 ชม 5 นาที 43 วินาที ถือว่าเร็วมากกว่าเดิมมากครับ ก่อนนั้น File นี้ผม Render 12 ชม ขึ้น นะครับ จาก 12 ชม เหลือ 1 ชม มันเป็นประโยชน์มากเลยครับสำหรับการทำงาน เพราะเราจะมีเวลาในการจัดการงานต่างๆได้มากขึ้นมาอีก 11 ชม เลยทีเดียว ผลสรุปคร่าวจากการทดสอบง่ายๆ จะเห็นว่า Revit 2012 เมื่อเข้าสู่ Mode การทำงานแล้ว ประสิทธิภาพเครื่องมีเท่าไหร่ เขาจะใช้กันจนหมด หมายความว่า หากจะทำงานใน Revit 2012 ประสิทธิภาพเครื่องมีผลกับความเร็วในการทำงานสูงสุดในแง่ของการทำงาน เพื่อให้ File ที่เราทำงานอยู่ไหลลื่น และทำการ Render ได้เร็วขึ้นครับ
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
REVIT 2012 กับ RAM 16GB
เคยกล่าวไว้ว่า Revit 2012 นี่บริโภคแรมกันเต็มอัตราศึก เรียกว่ามีเท่าไหร่ ฉันก็สามารถกินมันจนหมดได้ หมายถึงแรมนะครับ วันนี้ได้อุปกรณ์สำหรับการทำงานมาใหม่ จึงจัดการ Up Ram กันสุดโต่ง เท่าที่สามารถหาได้ในประเทศก่อนนะครับ คราวนี้ก็อัดกันไป 16GB ใน Notebook ASUS G74SX ที่เพิ่งถอยออกมาใช้งานกัน คราวนี้ไฟล์ที่เคยมีปัญหา Render ไม่ผ่าน เนื่องจากเจ้า Revit 2012 เค้าฟ้องว่า แรมน้อยอาจใช้เวลา Render นาน......มาก ก็จริงอย่างที่โปรแกรมเขาบอก Render กันข้ามวันไมีมีเสร็จ จนต้องยอมแพ้ไปไม่ Render ต่อเพราะเวลาไม่มี.....คราวนี้ลองเอา File เดิมที่เคยมีปัญหามา RUN ในเครื่องมือตัวใหม่ ผลปรากฎว่าจากที่ Render ข้ามวัน มันกลับทำเสร็จภายใน 30 นาทีเท่านั้น ส่วนหนึ่งนั้นน่าจะมาจาก CPU ที่เป็น COR I7 Gen2 ที่ทำงานเร็วขึ้น (เท่าที่ทดสอบ Render ในโปรแกรมอื่นๆ CPU มีผลให้ทำการ Render ได้เร็วกว่าประมาณ 10%) แต่ส่วนที่เป็นตัวพักข้อมูลคือ RAM นี่แหละครับ ที่มีผลมากที่สุด เนื่องจากในขั้นตอนการทำงานปกติ งานก็ไหลลื่นๆได้อย่างไม่กระตุกอีกต่อไป......ดังนั้นผมคงแนะนำว่าหากต้องทำงานกับงาน File ใหญ่ๆจริง คงต้องมี RAM กันอย่างน้อย 8GB เป็นอย่างต่ำ และนั่นคงต้องหมายถึง เราคงต้องใช้ WINDOW 64BIT เป็น OS ประจำการกันด้วยล่ะครับ....
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554
Emotion in Scene....Redering Revit2012+VUE9
การสร้างงาน Present ให้ได้บรรยากาศนั้น บางครั้งหากเราสามารถสร้าง องค์ประกอบอื่นๆลงไปใน Scene ได้ ก็จะทำให้ภาพเหล่านั้นดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะใส่ต้นไม้เพื่อประกอบ Scene กันเป็นหลัก ส่วนเรื่องคนและอื่นๆ มักจะใช้ PS เป็นตัวช่วย หากแต่ถ้าเรานำ คนเหล่านั้นมาประกอบ Scene เลย คงทำให้ภาพของเราดูมีมิติขึ้นมาอีกมากโขทีเดียว การสร้างงานเหล่านั้นคงต้องใช้ตัวช่วยกันเพื่อให้ภาพสมบูรณ์ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการใช้ Ram จำนวนมาก ส่วนตัวนับว่าคุ้มค่า หากต้องการให้ภาพของเราดูสนุก และไม่แห้งจนกระด้างครับ....
วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554
Emotion in Design...Revit2012 + 3DS Max + VUE9 + Poser8
หลังจากโครงการ ณัฐฐาวารี น้ำพุร้อน ได้เปิดให้บริการห้องพักมาได้สักพักแล้ว ตอนนี้ก็ได้ปรับเพิ่มเติมในส่วนของบ้านพักหลังต่อๆมาให้มีส่วนบริการเพิ่มขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าพักได้ใช้ประโยชน์ในการเข้าพักได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น เจ้าของโครงการจึงได้คิดถึงการเพิ่มส่วนสระว่ายน้ำขนาดย่อมๆ กับ บ่อแช่น้ำร้อนไว้ในบริเวณบ้านพักเลย จึงได้ทำการขยายส่วนเพิ่มเติมด้านข้างและด้านหลังเพิ่มเติม ให้มีสระว่ายน้ำ และ บ่อแช่น้ำร้อนด้วยเลย จึงได้จำลองบรรยากาศขึ้นมาเพื่อใช้ให้เห็นภาพในจินตนาการขึ้นมา ส่วนขยายนี้เน้นพื้นที่เปิดโล่ง ง่ายๆสบาย ไม่เยอะด้วยวัสดุตกแต่ง แต่เน้นพื้นที่ให้มีส่วนในการทำกิจกรรมมากๆ สามารถ แช่น้ำร้อน แล้ว ลุกมาอาบแดดได้ แล้วแช่น้ำเย็นเพื่อบำรุงเลือดและสุขภาพก่อนเข้าไปพักผ่อนภายในห้องพักเพื่อนอนหลับผ่อนคลายให้สบายตัว หรือจะใช้บริการนวดแผนโบราณเพื่อสุขภาพเพิ่มเติมที่โครงการมีไว้ให้บริการได้อีกด้วย รอบๆตัวบ้านเน้นบรรยากาศธรรมชาติ ใกล้ชิดต้นไม้เพื่อเพิ่มโอโซน และ อากาศบริสุทธิให้กับผู้เข้าพักได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ 100% ตัวสระน้ำจะเชื่อมต่อกับส่วนห้องน้ำเพื่อให้สามารถชำระร่างกายได้ทันที หลังจากได้แช่น้ำร้อนเพื่อผ่อนคลามเมื่อยล้าต่างๆไปแล้ว
การทำงานในส่วนของการสร้างจินตนาการนี้ เริ่มจากการสร้าง Model อาคารใน Revit ก่อน โดย Model นี้ใช้เป็นแบบก่อสร้างด้วย ซึ่งแบบก่อสร้างนั้นเป็นขั้นตอนต่อๆไปในการทำงานใน Revit อยู่แล้ว หลังจากนั้นในขั้นตอนการทำ Present ได้ทำการ Export File from Revit to 3DS Max เพื่อทำการแปลง File และ Set วัสดุเบื้องต้น ในการทำ Presentation นั้น หากทำงานใน Revit จะใช้เวลามาก และภาพบรรยากาศก็ไม่รู้สึกอ่อนไหวให้ชวนติดตามด้วย จึงส่งมาทำงานใน 3DS Max จะดีกว่า การ Render ใน 3DS Max นั้นสามารถปรับค่าต่างๆได้มากกว่าใน Revit มากมาย และยังทำงานได้เร็วกว่าหลายเท่านัก แต่มีส่วนหนึ่งในเรื่องของ Scene Natural มีโปรแกรมที่ทำได้เยี่ยมยอดอลังการมาก นั่นก็คือ VUE ดังนั้นเพื่อให้ได้บรรยากาศธรรมชาติ จึงส่งผ่าน File from 3DS Max to VUE เพื่อ Set scene natural ต่อไป หลังจากได้ File งานใน VUE และรังสรรธรรมชาติต่างๆแล้ว ยังขาดบุคคลเพื่อสร้าง Emotion ให้กับ Scene ดังกล่าว จึงได้สร้าง Caractor ด้วย Poser8 แล้ว Import Caractor เข้ามาใน VUE และทำการ Set Skin ต่างให้ได้ตามต้องการ เมื่อได้ทำการ Set ค่าต่างๆแล้ว เราก็ทำการ Render Image เพื่อบรรยากาศตามภาพด้านล่างครับ
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554
Revit Architecture + Revit Structure + Revit MEP
ไหนๆก็เล่น Revit Architecture มานานหลายเวลาแล้ว จะทำ Structure และ MEP บ้างจะเป็นไรครับ เนื่องจากงาน Arechitect ที่ผมทำส่วนใหญ่ ถ้าวาง Concept แล้วว่างานนี้จะต้องทำเป็นแบบก่อสร้างด้วย ผมจะทำงานโครงสร้างใส่ไปในงาน Architecture ด้วยทันที แต่ถ้าบางงานเน้น เป็นงาน present หรือเป็น Design Concept ผมก็จะทำแบบ Concept จริงๆโครงสร้างทั้งหลาย อย่าได้กล้ำกลายมาในงานของผมเลยทีเดียว เนื่องจากมันจะใช้เวลาในการทำงานต่างกันมากมายครับ ยกตัวอย่างงานที่แนบรูปมานี้ งานนี้ผมใส่โครงสร้าง 100% ในงาน Architecture รวมทั้งยัง ใส่งาน Pumping ตามจริงอีกด้วย สุขภัณฑ์ บางตัวก็จัดการสร้าง Family เอง ซึ่งหลังๆ ส่วนใหญ่ งานที่ต้องทำ มักต้องทำ Family เองเกือบทั้งหมด หลังๆนี้ผมเลยไม่ได้แวะไปโหลด Family ที่ไหนอีก เพราะไอ้ที่โหลดๆมา มันก็กองอยู่ในเครื่องและไม่ได้ไปแตะมันเลย ว่าจะลบทิ้งบ้างเหมือนกัน แต่! เสียดายครับ งานตัวนี้หากดูใน Revit Structure จะเห็น Structure มากมายครับซึ่งทั้งหมดนี้ผมจัดการสร้าง Family Structure และ โครงสร้างต่างๆฝังใน Revit Architecture ไว้แล้ว ดังนั้นเมื่อ Insert Link Revit เข้ามาใน Revit Structure จึงมี Structure ชัดเจนครับ รวมถึง Revit MEP ที่มี Pumping Family ติดมาด้วยอยู่แล้ว ทีนี้เมื่อ Link เข้ามาแล้ว ทุกอย่างก็ง่ายเหมือนปอกกล้วยแล้วครับ
หลักการสำคัญ เมื่อจะทำงานใน Revit ควรวางแผนการทำงานตามขั้นตอนการก่อสร้างจริง รับรองว่างานนี้ เล่นรวดเดียว จบครับ
วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เมื่อการทำงานต้องเปลี่ยนแปลงและเลือกข้าง BIM
จากการทำงานที่อยู่ในวงการก่อสร้างมาเป็นระยะเวลา 16 ปี นับตั้งแต่จบจากมหาวิทยาลัยมา ไม่นับการทำงานในช่วงเวลาเรียนที่ได้จับปากกามาตั้งแต่ช่วงสมัยเรียนก่อนเข้ามหาวิทยาลัยอีก 4 ปี รวมๆแล้วก็น่าจะเกือบ 20 ปีได้ จะเรียกว่าเยอะไหมกับประสบการณืที่ได้รับมา คงต้องบอกว่าผ่านมาครึ่งหนึ่งของชีวิตการทำงานแล้ว เพราะโดยทั่วไปเราคงก็คงทำงานกันไม่มากเกิน 40 ปีไปสักเท่าไหร่ ที่ผ่านมาคงต้องบอกว่าอาจจะโชคดีสักหน่อยที่ได้ทำงานทุกภาคส่วนของการทำงาน เรียกว่าครบทั้ง บนบก ในน้ำ และท้องฟ้า ทีเดียว สำหรับงานทั้ง 3 ภาค ภาคบนบก งานอาคารสูง, อาคารเชิงระนาบแนว Logistics, งานในน้ำ จำพวกงานท่าเรือ, งานบนท้องฟ้า ก็จำพวกสนามบิน ได้ผ่านได้เห็นมาครบทุกรสชาตเลยทีเดียว ทำให้โชคดีได้เห็นงานแบบก่อสร้าง และ แนวความคิดในการออกแบบ รวมถึงการใช้วัสดุ และวิธีการทำงาน แปลกๆมากมาย นับว่าเป็นโแกาสดีที่ได้เข้าไปอยู่ตรงจุดนั้น พักหลังๆยังเข้าไปพัวพันกับระบบการเงิน และการบริหารหลักเข้าไปอีก เลยทำให้ได้เปิดประสบการณ์ในรูปแบบที่ไม่เคยได้พบเจออีก สนุกดีครับ เกริ่นไปเย่อเย้อ ยังไม่เข้าเรื่อง ขอวนกลับมาตามที่จั่วไว้ในหัวเรื่องแล้วกันครับ
ที่เกริ่นมานะที่จริงอยากจะพาเข้าเรื่องที่จั่วไว้น่ะแหละครับ จากที่ได้ทำงานมาทำให้ได้เห็นแบบก่อสร้าง และ วิธีทำงานของแต่ละทีมทำงานมามากพอสมควร ทำให้พอจะมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นในวงการก่อสร้าง และ ออกแบบในบ้านเราชัดเจนขึ้นครับ โดยเฉพาะเจ้าแบบขั้นต้น และ กระบวนการทางความคิดนี่แหละครับ
โดยปัญหาหลักๆของงานในวงการก่อสร้างบ้านเรานี่ ต้องขอบอกเลยว่า เริ่มมาตั้งแต่แบบที่ใช้ในการทำงานซึ่งเป็น ปฐมบทของงานทั้งหมดทั้งมวลที่เราจะสร้างหรือทำมันออกมาให้เสร็จสมบูรณ์ได้โดยมีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดครับ ไม่มีงานใดจะสมบูรณ์แบบ 100% ได้ครับ แต่ควรให้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุดครับ โดยผมจะเริ่มตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการทำงานเลยนะครับ
เริ่มต้นเมื่อเจ้าของโครงการต้องการจะพัฒนาที่ดินสักแห่ง ไม่ว่าจะเป็นบนบก ในน้ำ หรือบนฟ้า เจ้าของโครงการจะนึกถึงผู้ออกแบบเป็นลำดับต้น ไม่นับรวมเรื่องงบประมาณต่างๆ ที่เขาคงประชุมสรุปกันเรียบร้อยแล้วนะครับ ทีนี้เมื่อเขาคิดถึงผู้ออกแบบแล้ว เขาก็จะนึกถึงตาจำแนกงานนั้นแหละครับว่าจะเลือกใครให้ทำงานก่อน ถ้างานอาคารเป็นหลักเจ้าของเขาก็จะนึกถึง บริษัทสถาปนิกเป็นลำดับแรก เมื่อได้สถาปนิกแล้ว ส่วนอื่นๆด้านวิศวกรรมก็จะตามมาโดยเป็นทีมงานที่สถาปนิกเป็นผู้จัดหามา แต่หากเป็นงานที่ต้องการด้านวิศวกรรมเป็นหลัก เจ้าของงานเขาก็จะนึกถึงบริษัทวิศวกรเป็นหลัก เช่นงานพัฒนาก่อสร้างท่าเรือ หรืองานระบบขนส่ง เช่นถนน สะพาน เป็นต้น และเมื่อเจ้าของงานเลือกบริษัทวิศวกรได้แล้ว แต่ในโครงการมีงานอาคารเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทางบริษัทวิศวกรก็จะจัดหาทีทสถาปนิกมาให้เจ้าของงานอีกที สำหรับในเรื่องการจัดจ้างนั้นก็มีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปอีก ขอไม่พูดถึงแล้วกันครับ เพราะเดี๋ยวจะออกประเด็นไป
การเลือกผู้ออกแบบนี่แหละครับ เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องทั้งหมดทั้งมวล แล้วเรามาว่ากันต่อในตอนต่อไปนะครับ ว่าทำไมต้องเลืกข้าง......
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Revit by Pussakorn Facebook
For easy to contact with us, we are please to inform to know a new choice for conversation with us. We signed in facebook as "plusarchitectstudio" for 2 way conversation. If you have any question in Revit Architect, please sign in facebook.
Best Regards,
Plus Architect Studio
Best Regards,
Plus Architect Studio
วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554
Ram Used in Revit2012 VS 3DS Max Design2012
ผมเคยกล่าวเรื่อง การใช้แรมใน Ram Revit2012 มาครั้งนึงแล้ว คราวนี้ผม Export File จาก Revit เป็น FBX ออกมาแล้ว Load ไปใน 3DS Max 2012 ดู แล้วลองเช็ค System ดูว่าการใช้แรมแตกต่างกันไหม สาเหตุที่มาตรวจสอบดูก็เนื่องจากว่า เจ้า File งานนี้ผม Render ตัวงานใน Revit ทีไรโปรแกรมมันจะมีข้อความเตือนบอกว่าแรมเหลือน้อย จะRender ช้านะ คุณต้องการทำต่อหรือไม่ ผมไม่เคยติดใจอะไร แต่พอมานึกๆดู แรม 8GB นี่มันยังไม่พอใช่ไหม งานแค่เรนี้ยเนี่ย แต่พอมาเช็คดูก็เห็นเป็นดังนี้ครับ
ทั้ง2ตัวเกิดจาก File งานด้านล่างนี้นะครับ
นั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผมพบว่าหากจะต้องทำ Present สวยๆ ผมจึงต้องหาตัวช่วยในการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดกับทรัพยากรของเครื่องที่มีอยู่ และการทำงานจะต้องคุ็มค่าคุ้มเวลาที่เราจะต้องใช้ไปด้วยครับ
ผมจึงจัดการงาน Present ด้วย ตัวช่วยหลายๆตัวเท่าที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้ครับ ส่วนงาน DWG. BIM ทั้งหลาย ผมเชื่อว่าหลายๆท่านที่ใช้ Revit เป็นแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงในการทำงานได้
ทั้ง2ตัวเกิดจาก File งานด้านล่างนี้นะครับ
File งานต้นฉบับทำใน Revit
การใช้แรมใน Revit2012
การบริโภคแรมใน Revit ซัดไป 6GB เลยนะครับจากตัวเลข หมายความว่าถ้าผมจะทำงานนี้ให้เร็วขึ้นผมต้อง Up Ram เพิ่มขึ้นอีก Ram น้อยเกินไปครับการใช้แรมใน 3DS Max2012
ถ้าเป็นการบริโภค Ram ใน 3DS Max Ram จะถูกใช้แค่ 2GB เศษๆ ซึ่งอัตราการบริโภคนี่ต่างกันเกือบๆ 3 เท่าครับนั่นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผมพบว่าหากจะต้องทำ Present สวยๆ ผมจึงต้องหาตัวช่วยในการทำงานให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดกับทรัพยากรของเครื่องที่มีอยู่ และการทำงานจะต้องคุ็มค่าคุ้มเวลาที่เราจะต้องใช้ไปด้วยครับ
ผมจึงจัดการงาน Present ด้วย ตัวช่วยหลายๆตัวเท่าที่เราจะสามารถนำมาใช้ได้ครับ ส่วนงาน DWG. BIM ทั้งหลาย ผมเชื่อว่าหลายๆท่านที่ใช้ Revit เป็นแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงในการทำงานได้
รวดเร็ว แรง คุ้มเวลา คือ Concept ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)